Welcome

Welcome to my WORLD!!!

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คาบ 2 AI613

ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การจัดการ (processing) เผยแพร่ (output) และมีส่วนเก็บข้อมูล (storage) โดยระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย
1.      ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ โดยยังไม่มีความหมายในตัวเอง เช่น เลข 2010 แต่เมื่อเราใส่ ค.ศ.ลงไปข้างหน้าตัวเลข จะพบว่าเปลี่ยนเป็น “ค.ศ. 2010” ซึ่งจะทำให้มีความหมายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรืออีกหนึ่งตัวอย่าง การที่ได้เกรด A เป็นเพียง Data แต่เมื่อ กลายเป็น เกรดเฉลี่ย ก็จะกลายเป็น Information เพื่อให้สามารถเข้าไป Process แปรความหมายได้
2.      สารสนเทศ (Information) คือ การได้มาซึ่งข้อมูลแล้วนำมาเข้าระบบเพื่อแปรความหมายเพื่อนำไปใช้ได้ โดยใช้ IT เข้ามาช่วยในกระบวนการต่างๆ ทั้งแปรข้อมูล รวมทั้งเก็บข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
3.      การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น
การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร จะช่วยให้องค์กรสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และอาจเกิดแนวคิดใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาองค์กรได้ โดยลักษณะของการทำงานของฝ่าย IS จะเป็นขั้นตอนในแนวนอน คือ IS จะเป็นผู้เข้าไปช่วยทุกแผนกภายในขององค์กร เพื่อสนับสนุนเรื่องทั้งระบบข้อมูล อุปกรณ์และความรู้ต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากการทำงานของฝ่ายอื่นๆ เนื่องจากฝ่ายอื่นๆ จะเป็นขั้นตอนในแนวตั้งที่ดูแลและรับผิดชอบหน้าที่แค่ในแผนกของตัวเองเท่านั้น โดยประเภทของของระบบสารสนเทศ สามารถแบ่งได้ดังนี้

1.       ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems:TPS)
2.       ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems)
3.       ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems)
4.       ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems:MIS)
5.       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems:DSS)
6.       ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems:ESS)

1. Transaction processing system (TPS) เช่น ระบบ Payroll, Order และ Shipping เป็นต้น
ถือว่าเป็นระบบที่มีความสำคัญที่สุดขององค์กร เพราะเป็นส่วนแรกที่เก็บข้อมูลทุกส่วนเอาไว้ที่ส่วนนี้ก่อน Raw Data นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลในส่วนนี้เป็น Back up Data ไว้สำหรับการวางแผนในอนาคต
2. Management Information Systems (MIS) มี 2 ความหมาย
1.       เอาไว้ให้ผู้บริหารระดับกลางใช้ในการตัดสินใจและวางแผนกลยุทธ์ต่างๆในการดำเนินการ
2.       เป็นสาขาวิชา โดยเมื่อก่อนใช้ Reporting Information System โดยขอ Data มา Process ให้กลายเป็นรายงาน เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำไปวางแผนกลยุทธ์ได้ โดยการ Decide ระบบ จะต้อง decide ให้ตรงกับความต้องการของคนใช้ เอาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
                ข้อมูลที่ได้มาจาก MIS ได้มาจาก การบันทึกข้อมูลภายในองค์กร Transaction processing system ดังนั้นถ้าข้อมูลตั้งแต่แรกผิด ก็จะทำให้การวิเคราะห์ในขั้นตอนถัดๆไปยิ่งผิดไปด้วย ทำให้ขั้นตอนแรกสำคัญสุด และต้องมีระบบ Garbage in & Garbage out เพื่อลดความผิดพลาดของการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างขั้นตอนการส่งข้อมูลต่อภายในองค์กร
ระบบ Decision Support System (DSS)
                ช่วยในการตัดสินใจ สามารถทำให้ผู้บริหารระดับกลาง สามารถตัดสินใจข้อมูลที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ เช่น การวางแผนลงทุน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำข้อมูลภายนอกมาวิเคราะห์
ระบบ Group Decision Support System (GDSS)
            ทำงานร่วมกัน โดยตัดสินใจเป็นกลุ่ม เพื่อให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งลดข้ออ้างของบางคนที่จะอ้างว่าไม่ได้รับข้อมูลได้ เพราะระบบจะส่งไปยังทุกคนภายในกลุ่ม
3. ระบบ Executive Support Systems (ESS)
                เหมาะกับผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากเป็น New Data ที่ได้จากทั้งภายในและภายนอกเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถนำไปวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรได้อย่างรอบคอบเพราะได้ข้อมูลครบถ้วน พวกผู้บริหารระดับสูงไม่ค่อยมีเวลาอยู่แล้ว

“Salesforce” เป็นบริษัทที่ช่วยทางด้านการตลาด เพื่อทำเป็น MKIS โดยสามารถ download Software ได้จากหน้าเวปได้เลย เป็นการ Online Service หรือเรียกว่า Cloud Computing
ข้อดีมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร
                สามารถเรียกใช้ได้ทุกเวลา
                ความปลอดภัยทางด้านข้อมูลจะมีมากกว่า
                สามารถสร้างได้ตามลักษณะที่คุณต้องการ (Customize ได้)
ข้อดีของการใช้ Software as a Service (SAS) / Cloud computing
                คนอยู่ที่ไหนก็สามารถเรียกใช้ได้เลย ไม่จำเป็นต้องใช้ที่ภายในองค์กรอย่างเดียว
                ไม่ต้องลงทุนในการพัฒนาหรือลงทุนเอง Save Cost
                อยากใช้มาก น้อย ก็จ่ายตามที่ใช้ ไม่ต้องเหมาจ่าย

ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารความรู้ (Knowledge management systems)
                การบริหารความรู้ไว้ภายในองค์กร แล้วนำมาเก็บไว้ในระบบ เพราะความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในบุคคล หากไม่เก็บไว้ในองค์กร ความรู้ก็จะหายไปเมื่อพนักงานเปลี่ยน หรือ ลาออกจากงาน ดังนั้นการเก็บความรู้ไว้ในองค์กรจะช่วยให้สามารถลดต้นทุน Training พนักงานได้ อีกทั้งเป็นการดึงความรู้ของพนักงานออกมาได้ สำหรับคนที่ไม่ชอบแสดงออกมา แล้วนำไปสอนต่อๆ กลายเป็น Best Practice

Internet ไม่ปลอดภัย เนื่องจากสามารถโดนเจาะเข้าไปในระบบได้ง่าย เราจึงเลือกใช้ Intranet and Extranet
Intranet: การใช้ระบบภายในองค์กร มีความปลอดภัยมากกว่า เพราะว่ามี Private Network
Extranet: การใช้ระบบระหว่างองค์กร คล้ายกับ Internet แต่มี Private Network ที่แชร์กันทำให้ปลอดภัยมากกว่า
Collaboration and Communication systems
                การใช้ระบบเข้ามาช่วยกันระหว่างภายในองค์กร Interaction เช่น E-mail, Smartphone, Social network, Wikis (Software ที่ใช้ในการเขียนความรู้ร่วมกัน), IM (Instant Messaging) และ Virtual Worlds (เช่น Second Life)
E-Business
                E-Business ก็ชื้อขายระหว่างองค์กร
E-commerce คือ การซื้อขายระหว่างองค์กรกับผู้บริโภค เช่น E-bay
E-government คือ การซื้อขายระหว่างรัฐบาลกับองค์กร หรือผู้บริโภค เช่น การประมูลเลขทะเบียนรถ
Information systems Department
                เป็นหน่วยงานภายในองค์กรที่ให้บริการเรื่องระบบสารสนเทศภายในองค์กร คล้ายๆ หน่วยงานหนึ่งใน บ. IBM ที่ไปฝึกงาน ไม่ใช่เป็นเพียงศูนย์รับซ่อมคอมเท่านั้น แต่จะเป็นหน่วยงานที่จัดการเรื่องระบบสารสนเทศทั้งหมดภายในองค์กร
Web 2.0
                World Wild Web version 2 โดยเปลี่ยนจากที่บริษัทจะเป็นผู้ผลิต Content แต่ version นี้ ผู้บริโภคจะสามารถกำหนดและผลิต Content ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารระหว่าง ผู้บริโภคกับองค์กร หรือ ผู้บริโภคกับผู้บริโภคด้วยกันได้
Web 3.0 Intelligent Web
                ต่างชาติต่างภาษาสามารถพูดคุยกันได้  โดย Machine จะเป็นคนทำกระบวนการแปรภาษาให้กับเราได้เลย แต่ช่วงนี้กำลังอยู่ในกระบวนการพัฒนา 
Utility Computing
                การทำให้สัญญาณอินเตอร์เน็ทกลายเป็นระบบสาธารณูปโภค ก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง Internet ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
Pervasive Computing
                คือการที่เทคโนโลยีจะอยู่รอบตัวเรา
Open Source Code Software
                คือการพัฒนา Software โดยบุคคลธรรมดา ซึ่งโปรแกรมจะใช้งานได้ฟรี ไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะเสถียรมากกว่าโปรแกรมที่พัฒนาโดยองค์กรใหญ่ๆ เช่น Mozilla
Virtualization – Friend or Foe?
                การทำให้ Software เป็น Server ในคอมตัวเดียวกัน เพื่อให้มีความเสถียรมากขึ้นอีกทั้งยังประหยัดงบประมาณ

แมนรัตน์ กิตติวราภรณ์
5202115100

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น