Welcome

Welcome to my WORLD!!!

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Enterprise System: Supply Chain Management (SCM) and Enterprise Resource Planning (ERP)

          ระบบ Enterprise Systems เป็นระบบส่วนกลางที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จริงในองค์กร เพื่อให้แต่ละแผนกสามารถแบ่งปันข้อมูลได้ร่วมกัน โดยระบบนี้ถือเป็นระบบที่มีความเป็นมาตรฐาน ทำให้แต่ละองค์กรสามารถพูดคุยในภาษาเดียวกัน ในขณะที่ระบบภายในของแต่ละแผนกจะมีความแตกต่างภายในองค์กรตามลักษณะขั้นตอนของการดำเนินงานที่มีความแตกต่างซับซ้อนไปตามความต้องการของผู้ใช้ 

อุปสรรคการนำระบบ Enterprise Systems มาประยุกต์ใช้ในองค์กร
·        ราคาแพง
·        บางองค์กรยังมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะใช้ระบบ
·        ผู้ทำงานไม่อยากเรียนรู้วิธีการทำงานของระบบใหม่

ประโยชน์ของ Enterprise Systems
·        สามารถรวมทุกกิจกรรมที่สำคัญของธุรกิจ (Key Process) ช่วยให้การทำงานระหว่างระบบต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
·        ช่วยให้การ outsource ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีระบบข้อมูลที่ดี ทำให้การติดต่อระหว่าง supplier ในประเทศต่างๆ รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

สำหรับระบบ Enterprise System ที่จะเรียนมีด้วยกันทั้งหมด 4 ระบบ ได้แก่
1.       ERP : Enterprise Resource Planning ระบบจัดการริหารงานภายในขององค์กร เช่น Oracle ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังลูกค้าและผู้ขายได้ ด้วย
2.       SCM : Supply Chain Management Systems เป็นการดูระบบและ flow การทำงานภายในองค์กร ตั้งแต่ Supplier ไปจนถึงลูกค้า
3.       CRM : Customet Relationship Management เป็น software ที่ใช้ดูแลและบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
4.       KM : Knowledge Management Systems เป็นระบบบริหารงานภายในเพื่อพัฒนา องค์ความรู้ภายในองค์กร เช่น K-Business

โดยสำหรับ Class นี้ได้กล่าวคือ 2 ระบบ ได้แก่ ระบบ ERP : Enterprise Resource Planning และ SCM : Supply Chain Management Systems



v Supply Chain Management (SCM)
เป็นกระบวนการดำเนินงานครอบคลุมตั้งแต่ Supplier ไปจนถึงการที่บริษัทส่งสินค้าไปจนถึงลูกค้า โดยระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทช่วยให้ข้อมูลมีการ Flow ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดการภายใน Supply Chain มีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น โดยการบริหารจัดการระบบ Supply Chain มีระบบย่อยที่ช่วยให้การจัดการมีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
o   Warehouse Management System (WMS)  เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการคลังสินค้า ว่าจะมีการจัดการอย่างไรให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการว่าของชิ้นไหนต้องไปวางอยู่ที่ไหนของคลังสินค้า และมีระบบเก็บข้อมูลว่าของแต่ละชิ้นอยู่ส่วนไหนของคลังสินค้า
o   Inventory Management System (IMS) เป็น Software ที่ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลัง เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดเก็บข้อมูลของสินค้าที่มีทั้งหมด
o   Fleet Management system เป็นระบบที่ใช้ช่วยติดตามว่าการขนส่งสินค้า ณ จุดใดๆ มีสินค้าอยู่จำนวนเท่าใด ทำให้สามารถติดตามได้ว่าส่งของ ณ ที่ไหนจำนวนเท่าไหร่ และยังช่วยให้สามรถติดตามได้ว่า ขากลับจะขนสินค้าอะไรกลับมา และส่งข้อมูลกลับมาถึงภายในสำนักงานเพื่อรายงานการขนส่งสินค้าที่รวดเร็ว
o   Vehicle Routing and Planning เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนเส้นทางในการขนส่งสินค้า เพื่อให้มีเส้นทางที่สั้นที่สุด และประหยัดมากที่สุด
o   Vehicle Based System เป็นระบบติดตามรถขนส่ง เช่นรถทัวร์ จะมี GPS ติดตามว่ารถถึงที่ไหนแล้ว เพื่อเป็นการตรวจสอบ

แนวโน้ม IT สำหรับ Supply Chain Management ในอนาคต
1)         Connectivity เชื่อมโยงกับเครื่องมือได้ง่ายขึ้น
2)         Advanced Wireless Voice & GPS ผ่านการใช้เสียงและ GPS
3)         Speech Recognition การสั่งงานด้วยเสียง
4)         Digital Imaging การประมวลผลภาพดิจิตอลผ่านรูปภาพที่ถ่าย
5)         Portable Printing สามารถทำเป็นใบเสร็จและ ติดต่อกลับเข้าที่สำนักงานใหญ่ได้ทันที
6)         2D & other bar-coding advances บาร์โค้ดออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้ดีขึ้น
7)         RFID เป็นชิพตัวเล็กๆ ฝังอยู่ในแถบสินค้า หรือทำเป็นบัตร ซึ่งสามารถส่งสัญญาณออกมาด้วยตัวเองได้ เช่น บัตรทางด่วน easy pass, tag ในคลังสินค้า
8)         Real Time Location System RTLS ระบบแสดงตำแหน่งในเวลาจริง ทำให้ติดตามการเคลื่อนที่ของสินค้าภายในคลังสินค้าได้ว่ากำลังเคลื่อนที่ไปที่ไหนได้ ซึ่งขยายผลไปสู่เรื่องการติดตามสินทรัพย์ได้
9)         Remote Management การจัดการทางไกล ใกล้เคียงกับ RTLS เพียงแต่ใช้สำหรับระยะไกล
10)      Security เป็นเรื่องความปลอดภัยของระบบไร้สาย เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลขององค์กร
            Supply Chain Management สำคัญตรงที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูลแก่กัน เพื่อให้การจัดการสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้อง รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูลกันระหว่างองค์กร ซึ่งต้องอาศัยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 

v Enterprise Resource Planning Systems (ERP)
ปกติบริษัทจะซื้อเป็นส่วนๆ ของแต่ละฝ่าย ไม่ซื้อทั้งหมด เพราะว่าแพง และการนำเอา ERP เข้ามาใช้ในบริษัทมักไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการนำเข้ามาใช้นั้นเป็นการทำงานผู้ใช้เดิมต้องทำงานในระบบใหม่ที่ต้องเรียนรู้เพิ่ม และในระดับเริ่มแรกของการใช้ระบบ ก็จะต้องใช้คู่กับระบบเดิมที่มีอยู่ ทำให้พนักงานในองค์กรมีงานเพิ่มขึ้นจากเดิม จึงไม่ค่อยมีใครต้องการที่จะใช้ระบบใหม่ที่ดีกว่านี้ ตัวอย่างของ ERP เช่น SAP เป็นของบริษัทเยอรมันเป็นผู้ผลิต, Oracle, PeopleSoft เป็นต้น
ระบบ ERP หลักที่ช่วยให้การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานภายในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
o   Sales and Distribution
o   Material Management
o   Financial Accounting
o   Human Resources
o   Third-Party ให้ภายนอกช่วยพัฒนา Module แล้วเราค่อยซื้อมาใช้กับองค์กร ข้อดีคือ ถูก แต่ข้อเสียคือ เป็นระบบที่พัฒนาจากภายนอกทำให้เราไม่แน่ใจเรื่องคุณภาพ และการดูแลรักษาภายหลัง

ERP Lease or Buy?
           ขึ้นอยู่กับบริษัทว่าต้องการใช้มากน้อยแค่ไหน และมีทรัพยากรมากพอหรือไม่ แต่ส่วนมากจะเช่า ซึ่งตอนนี้ก็มีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา เช่น Clound computing ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกระยะเวลาที่ต้องการได้ ไม่ต้องซื้อแล้วเอามาใช้แค่ช่วง peak 2 เดือนต่อปี ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณไปได้เยอะ

Presentation
*    Augmented Reality
Augmented Reality พัฒนารูปแบบ Human-Machine Interface ที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) โดยที่วัตถุเสมือนนั้นๆ จะถูกสร้างมาผสมกับสภาพในโลกจริงในรูป 3D และแสดงผล แบบ real time โดยสามารถใช้งานผ่านทางอุปกรณ์ Webcam, กล้องมือถือ ,Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็น object 3 มิติ ซึ่งมีมุมมองถึง 360 องศากันเลยทีเดียว ฉะนั้นเทคโนโลยี AR นี้ จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบด้าน 360 องศา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินไปสถานที่จริงเลยแม้แต่น้อย
ข้อดี 
o   สร้างประการณ์ที่แปลกใหม่
o   ค้นหาตำแหน่งและรายละเอียดของสินค้าได้ชัดเจน
o   สร้างแคมเปญง่าย
o   เพิ่มโอกาสทางการตลาด
ข้อเสีย
o   ไม่เหมาะกับคนที่ไม่รู้เทคโนโลยี
o   เข้าถึงได้จำกัด
o   ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล

*    Mobile Operating System
ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็น ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป มีหน้าที่หลัก ๆ คือ จัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการมือถือหลักๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แก่
1.          Symbian OS ถูกพัฒนามาเป็น 10 ปีแล้ว และมีคนร่วมพัฒนาเยอะมาก มีมือถือหลายยี่ห้อที่ใช้ได้ และปัจจุบันเป็น open source 
2.          BlackBerry OS ตอนแรกส่วนมากใช้ในองค์กร ใช้ E-mail push ภายหลังจับกลุ่มเป็ยวัยรุ่น เน้นการ chat
3.          iPhone OS พัฒนาโดย apple ใช้งานง่าย และดูหวือหวา มีระบบ Multi- touch มีจุดเด่นที่ความบันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แต่ไม่รองรับ flash และเป็นระบบปิด การ download file ต้องผ่าน itunes
4.          Window Mobile OS พัฒนาโดย Microsoft หน้าตาคล้าย Window บนคอม มีจุดเด่นคือ มี Microsoft Office เป็นระบบปิด ทำให้การพัฒนาต่อยอดได้ยาก
5.          Android พัฒนาโดย google ร่วมกับหลายคน เป็นน้องใหม่ที่พัฒนามาจาก Linux เป็น open source ทำให้มีคนเข้ามาช่วยพัฒนาระบบจำนวนมาก มีแนวคิดที่จะพยายามนำ google ต่างๆ เข้ามาร่วมกับมือถือ แต่ยังมีปัญหาทางเทคนิคอยู่มาก


*    Video Telepresence
Video Telesence เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากระบบ Video Conference ถูกพัฒนาขึ้นในปีค.ศ.1960 และเริ่มใช้งานจริงใน ปีค.ศ.1980 ซึ่งโดยหลักการแล้ว Video Telesence ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานเดียวกับ Video Conference แต่มีความต่างขององค์ประกอบของระบบที่ชัดเจน 3 ด้าน คือ “Network Technologies, Conference Hardware และ Conference Software” ซึ่ง เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ากว่าทำให้ Video Telesence ให้ภาพที่สมจริงกว่า อรรถประโยชน์ที่สูงกว่า และการติดตั้งต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมการใช้งานที่เหนือกว่า Video Conference

สิ่งที่  Video Telesence เสมือนจริงมากกว่า Video Conference ได้แก่
1.       1.ระบบเสียงคมชัด
2.       2.ระบบภาพคมชัด เท่าตัวคนจริง และไม่ delay
3.       3.ระบบไม่สลับซับซ้อน
4.       4.ความน่าเชื่อถือสูง ผู้ให้บริการทุกรายจะตรวจสอบเสมอ เพื่อให้เสถียร
5.       5.สภาพแวดล้อมที่ยอดเยี่ยม 

ข้อจำกัด
o   ด้านต้นทุน เพราะห้องที่สมบูรณ์ 1 ห้องจะใช้เงินประมาณ 3-4 ล้าน และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงด้วย
o   ด้านสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ไม่โครโฟน จะต้องอยู่ในที่ที่ถูกต้อง


*    Service-oriented Architecture
SOA (Service-Oriented Architecture) หมายถึง แนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ขององค์กรขนาดใหญ่ในลักษณะที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถหยิบเอาเฉพาะเซอร์วิส (Service) ที่ต้องการซึ่งเป็นองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ มารวมกันเป็นแอพพลิเคชันใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างได้อย่าง ยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability) ทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOA คือ web service แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะ web serviceเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร

ประโยชน์
1.ทำให้สามารถเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างองค์กรได้ง่ายมากขึ้น
2.ทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาลง เพราะไม่ยึดติดกับระบบใดระบบหนึ่ง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น